ระบบประชุมอิเล็กทรอนิกส์ (e-Meeting)
e-Meeting เป็นระบบที่ช่วยในการจัดการเอกสารประชุมอิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่ขั้นตอนการจัดทำระเบียบวาระการประชุม การบรรจุระเบียบวาระ การสร้าง-ส่งหนังสือเชิญประชุม
เอกสารประกอบการประชุม การบันทึกการประชุม การออกรายงานการประชุมแบบอิเล็กทรอนิกส์ การตรวจและรับรองรายงานการประชุม ทั้งนี้ยังสามารถสร้างนัดหมายและตอบรับนัดหมายได้ผ่านระบบ เพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการจัดการประชุม
ประโยชน์ของการใช้งานระบบ
1. ข้อมูลจะอยู่ใน Server ของมหาวิทยาลัย (เก็บความลับ)
2. อำนวยความสะดวกด้านเอกสารแก่การประชุม
3. เป็นที่ค้นหาเอกสารการประชุมย้อนหลัง
4. ลดค่าใช้จ่ายด้านเอกสารในการจัดประชุม
5. รักษาสิ่งแวดล้อม ลดการใช้งานกระดาษ และลดปริมาณ CO2
สถิติการลดการใช้กระดาษ ปี 2563 (รอบ 3 เดือน)
ข้อมูล ณ วันที่ 28 ธันวาคม 2563
สถิติการลดใช้กระดาษ ปี 2563
ปีงบประมาณ 2563 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ใช้งานระบบ e-Meeting
ทำให้มีการใช้กระดาษน้อยลงตลอดทั้งปี
ปริมาณกระดาษที่ลดลงจากการใช้ระบบเอกสารประชุมอิเล็กทรอนิกส์ (e-Meeting) ตั้งแต่ ต.ค. 62-ก.ย. 63
เดือน |
จำนวน (หน้า) |
จำนวนรวม 3 เดือน (หน้า) |
ตุลาคม 2562 |
108,321 |
ไตรมาสที่ 1 244,828 |
พฤศจิกายน 2562 |
77,667 |
ธันวาคม 2562 |
58,840 |
มกราคม 2563 |
76,878 |
ไตรมาสที่ 2 205,116 |
กุมภาพันธ์ 2563 |
78,162 |
มีนาคม 2563 |
50,076 |
เมษายน 2563 |
87,330 |
ไตรมาสที่ 3 638,244 |
พฤษภาคม 2563 |
340,400 |
มิถุนายน 2563 |
210,514 |
กรกฎาคม 2563 |
134,614 |
ไตรมาสที่ 4 362,958 |
สิงหาคม 2563 |
87,557 |
กันยายน 2563 |
140,787 |
รวมทั้งหมด |
|
1,451,146 |
ข้อมูล ณ วันที่ 28 ธันวาคม 2563
สถิติการลดใช้กระดาษ ปี 2562
ข้อมูล ณ วันที่ 16 มกราคม 2563
สถิติการลดใช้กระดาษ ภาพรวมของทั้งมหาวิทยาลัย
ข้อปฏิบัติของเลขาการประชุม
ขั้นตอนการใช้งานระบบ e-meeting สำหรับเลขาการประชุม
1. ขอสิทธิ์การใช้งานระบบ พร้อมส่งข้อมูลกลุ่มการประชุมผ่านช่องทางโทรศัพท์ 111 หรืออีเมล ccsupport@kmutt.ac.th
๐ ชื่อกลุ่มประชุมภาษาไทย และภาษาอังกฤษ(ถ้ามี)
๐ รายชื่อคณะกรรมการ และตำแหน่งในการประชุม
2. ศึกษาคู่มือการใช้งานระบบได้ด้วยตนเองทางหน้าจอระบบ หากพบข้อสงสัยหรือปัญหาการใช้งานสามารถติดต่อผู้ดูแลระบบผ่านช่องทางโทรศัพท์ 9430 หรืออีเมล jintana.ang@kmutt.ac.th (คุณจินตนา)
3. สามารถปฏิบัติตามคู่มือการใช้งานได้ตามขั้นตอน
สิทธิ์การเข้าใช้งาน
สำหรับการเข้าใช้งานระบบ e-Meeting สามารถใช้งานได้ทุกหน่วยงานของมหาวิทยาลัย โดยการใช้งานจะแบ่งกลุ่มผู้ใช้ เป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. เลขานุการ คือ เลขาของที่ประชุม มีหน้าที่ บรรจุระเบียบวาระ สร้าง-ส่งหนังสือเชิญประชุม สร้างเอกสารประกอบการประชุม บันทึกการประชุม และออกรายงานการประชุมแบบอิเล็กทรอนิกส์
เลขานุการ จะต้องทำการขอสิทธิ์การใช้งานก่อน จึงจะสามารถเข้าใช้งาน และสร้างกลุ่มการประชุมได้ โดยผู้ได้รับมอบหมายให้เป็นเลขาของวงประชุมนั้นๆ ติดต่อสำนักคอมพิวเตอร์เพื่อขอสิทธิ์ของเลขาการประชุม
2. กรรมการ คือ ผู้เข้าร่วมประชุมในการประชุมของวงประชุมต่างๆ การเข้าใช้งานระบบ e-Meeting นั้น ผู้เข้าร่วมประชุม(กรรมการ) สามารถเข้าใช้งานระบบได้โดยไม่ต้องของสิทธิ์การเข้าใช้งานจากสำนักคอมพิวเตอร์ (สามารถใช้งานได้ผ่าน คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต และ สมาร์ทโฟน)
แต่สิทธิ์การเข้าถึงเอกสารของการประชุม จะขึ้นอยู่กับเลขาของที่ประชุมเป็นผู้ส่งหนังสือเชิญ กรรมการที่เข้าใช้งานระบบถึงจะมองเห็นเอกสารของการประชุมนั้นๆ โดยผู้เข้าใช้งานระบบหรือกรรมการที่เข้าใช้ระบบ จะไม่สามารถมองเห็นเอกสารการประชุมที่ตนเองไม่เกี่ยวข้อง หรือไม่ได้รับสิทธิ์การเข้าถึงเอกสารจากเลขาของที่ประชุม
ขั้นตอนการเข้าใช้ระบบจากภายนอกมหาวิทยาลัย
สำหรับการเข้าใช้งานระบบ e-Meeting จากนอกมหาวิทยาลัยจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. ติดตั้งโปรแกรม vpn (เครือข่ายคอมพิวเตอร์ส่วนตัวเสมือน - Virtual Private Network Service) เพื่อให้สามารถใช้งานระบบงานต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัยได้ เสมือนเข้ามาใช้งานภายในมหาวิทยาลัย โดยสามารถเลือกใช้งานได้ตามชนิดของระบบปฏิบัติการ ดังนี้
2. เข้าสู่ขั้นตอนการใช้งานระบบ e-Meeting โดยบุคลากรของมหาวิทยาลัยจะเข้าผ่าน My Portal ตามวิธีปกติ
- สำหรับผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกเข้าใช้งานระบบได้ดังนี้
- 1. เข้าเว็บไซต์มหาวิทยาลัย https://www2.kmutt.ac.th/ และเลือก Tab “สำหรับคณาจารย์และบุคลากร”
- 2. เลือก “ระบบประชุมอิเล็กทรอนิกส์(e-Meeting) – สำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ”
- 3. ล็อกอินด้วย Username และ Password
- 4. เข้าสู่หน้าหลักของระบบเอกสารประชุมอิเล็กทรอนิกส์(e-Meeting) และสามารถใช้งานได้ตามปกติ
ดูคู่มือสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ คลิกที่นี่