ในยุคดิจิทัลที่การดำเนินชีวิตบนโลกออนไลน์กลายเป็นเรื่องปกติ มัลแวร์(Malware) ได้กลายเป็นภัยคุกคามที่ทุกคนต้องตระหนักและเฝ้าระวัง
Malware ย่อมาจาก Malicious Software ซึ่งหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อมุ่งร้ายต่อระบบคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับอนุญาต โดย มัลแวร์อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อข้อมูล ขโมยข้อมูลส่วนบุคคล หรือเข้าควบคุมอุปกรณ์โดยที่ผู้ใช้งานไม่รู้ตัว ผลกระทบจากมัลแวร์อาจร้ายแรงถึงขั้นทำให้ข้อมูลสำคัญสูญหาย หรือเปิดช่องทางให้ผู้ไม่หวังดีเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวได้อย่างง่ายดาย
Malware มีกี่ประเภท
ไวรัส (Virus) ซอฟต์แวร์ที่แนบตัวเองไปกับโปรแกรมหรือไฟล์ และแพร่กระจายเมื่อมีการเรียกใช้งานโปรแกรมหรือไฟล์นั้นๆ ไวรัสมักทำให้ระบบเสียหายหรือลบข้อมูล
เวิร์ม (Worm) ซอฟต์แวร์ที่สามารถแพร่กระจายตัวเองไปยังคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่นๆ ได้โดยไม่ต้องอาศัยการกระทำจากผู้ใช้ แตกต่างจากไวรัสที่ต้องอาศัยการเปิดไฟล์ เวิร์มจะทำงานและแพร่กระจายผ่านเครือข่ายโดยอัตโนมัติ
โทรจัน (Trojan)โทรจัน (Trojan) ซอฟต์แวร์หรือไฟล์ที่ดูเหมือนปลอดภัยหรือถูกต้องตามกฎหมาย แต่เมื่อผู้ใช้ติดตั้งหรือเปิดใช้งาน จะเปิดช่องให้ผู้โจมตีเข้าควบคุมหรือเข้าถึงข้อมูลภายในคอมพิวเตอร์ของเหยื่อได้
สปายแวร์ (Spyware) ซอฟต์แวร์ที่ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต เช่น การติดตามการใช้งานอินเทอร์เน็ต หรือขโมยข้อมูลสำคัญอย่างรหัสผ่าน
แรนซัมแวร์ (Ransomware) ซอฟต์แวร์ที่เข้ารหัสข้อมูลในเครื่องและเรียกค่าไถ่เพื่อปลดล็อกข้อมูล มักมีการขู่ทำลายข้อมูลถ้าไม่จ่ายเงินตามที่กำหนด แต่ไม่มีการรับประกันว่าหลังจากดำเนินการชำระเงินแล้วผู้ไม่ประสงค์ดีจะทำการปลดล็อคไฟล์ให้สามารถกลับมาใช้งานได้
แอดแวร์ (Adware) ซอฟต์แวร์ที่แสดงโฆษณาไม่พึงประสงค์ต่อผู้ใช้ มักมาพร้อมกับโปรแกรมฟรีหรือถูกติดตั้งโดยไม่รู้ตัว
รูทคิท (Rootkit) ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการซ่อนการทำงานของมัลแวร์หรือกระบวนการที่เป็นอันตรายในระบบ ทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถตรวจสอบการมีอยู่ของมัลแวร์ได้ง่าย
คีย์ล็อกเกอร์ (Keylogger) ซอฟต์แวร์ที่บันทึกการกดแป้นพิมพ์ของผู้ใช้ เพื่อขโมยข้อมูลสำคัญเช่น รหัสผ่านหรือข้อมูลทางการเงิน
การป้องกัน Malware ไม่ใช่เรื่องที่ซับซ้อนเกินไป ต่อจากนี้จะมาแนะนำวิธีการป้องกันและลดความเสี่ยงจาก Malware เพื่อให้คุณสามารถใช้ชีวิตออนไลน์ได้อย่างปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
วิธีการป้องกัน Malware เพื่อลดความเสี่ยงจากการถูกโจมตีและรักษาความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์
1. ติดตั้งโปรแกรมป้องกันมัลแวร์ (Anti-Malware) ซอฟต์แวร์ที่แนบตัวเองไปกับโปรแกรมหรือไฟล์ และแพร่กระจายเมื่อมีการเรียกใช้งานโปรแกรมหรือไฟล์นั้นๆ ไวรัสมักทำให้ระบบเสียหายหรือลบข้อมูล
2. อัปเดตระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์อย่างสม่ำเสมอ ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์จะออกการอัปเดตเพื่อแก้ไขช่องว่างทางด้านความปลอดภัย หากไม่ทำการอัปเดต ระบบของคุณอาจถูกโจมตีผ่านช่องว่างเหล่านี้ได้
3. หลีกเลี่ยงการดาวน์โหลดซอฟต์แวร์จากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือไม่ควรดาวน์โหลดโปรแกรมหรือไฟล์จากแหล่งที่ไม่ปลอดภัย เพราะมัลแวร์มักถูกซ่อนในไฟล์หรือโปรแกรมที่ถูกแจกจ่ายผ่านเว็บไซต์ที่ไม่ปลอดภัย
4. ระมัดระวังในการเปิดอีเมลและลิงก์ อย่าคลิกที่ลิงก์หรือเปิดไฟล์แนบจากอีเมลที่ไม่รู้จักหรือดูน่าสงสัย เพราะอาจเป็นมัลแวร์หรือฟิชชิ่งที่ออกแบบมาเพื่อขโมยข้อมูลหรือแฮ็กเครื่อง
5. เปิดใช้งานไฟร์วอลล์ (Firewall) เปิดไฟร์วอลล์เพื่อป้องกันการเข้าถึงระบบของคุณจากภายนอกโดยไม่ได้รับอนุญาต ไฟร์วอลล์จะช่วยกรองการรับส่งข้อมูลที่อาจเป็นอันตราย
6. ใช้รหัสผ่านที่รัดกุม ไม่ใช้ซ้ำในหลายบัญชีและเปลี่ยนรหัสผ่านเป็นประจำ ใช้รหัสผ่านที่ซับซ้อนและยากต่อการคาดเดา และอย่าใช้รหัสผ่านเดียวกันในหลายๆ บัญชี นอกจากนี้ ควรเปลี่ยนรหัสผ่านเป็นประจำเพื่อป้องกันการถูกแฮ็ก
7. สำรองข้อมูลเป็นประจำ(Backup) ทำการสำรองข้อมูลสำคัญอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สามารถกู้คืนข้อมูลได้หากเครื่องถูกโจมตีด้วยมัลแวร์ เช่น แรนซัมแวร์
8. หลีกเลี่ยงการเชื่อมต่อ Wi-Fi สาธารณะที่ไม่ปลอดภัยการเชื่อมต่อกับเครือข่าย Wi-Fi สาธารณะที่ไม่มีการเข้ารหัสหรือปลอดภัยเพียงพออาจเสี่ยงต่อการถูกดักข้อมูลได้
9. ระวังซอฟต์แวร์ฟรีหรือของแถม (Freeware/Adware)โปรแกรมฟรีบางโปรแกรมอาจมาพร้อมกับมัลแวร์ เช่น แอดแวร์ ควรตรวจสอบความน่าเชื่อถือก่อนทำการติดตั้ง
10. จำกัดสิทธิ์ผู้ใช้งาน ให้สิทธิ์ผู้ใช้ในระดับที่จำเป็นเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ควรให้สิทธิ์แอดมินแก่ผู้ใช้ทั่วไปเพื่อลดความเสี่ยงที่มัลแวร์จะเข้ามาควบคุมระบบ