King Mongkut's University of Technology Thonburi (KMUTT)

บริการซ่อมบำรุงคอมพิวเตอร์

เอกสารข้อตกลงและเงื่อนไขการให้บริการ (Service Level Agreement) ฉบับนี้ จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นข้อกำหนดการให้บริการระหว่างงานซ่อมบำรุงคอมพิวเตอร์ ฝ่ายบริการคอมพิวเตอร์ สำนักคอมพิวเตอร์ กับบุคลากร และหน่วยงานในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยมีข้อตกลงถึงระดับคุณภาพของงานบริการซ่อมบำรุงคอมพิวเตอร์ที่มีให้แก่บุคลากรและหน่วยงานใน มจธ. รับทราบและเข้าใจถูกต้องตรงกัน ดังต่อไปนี้

คำจำกัดความ

  • งานซ่อมบำรุงคอมพิวเตอร์ ฝ่ายบริการคอมพิวเตอร์ สำนักคอมพิวเตอร์ เรียกว่า “ผู้ให้บริการ”
  • บุคลากร และหน่วยงานในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ที่ขอรับบริการ เรียกว่า “ผู้รับบริการ”
  • ด้านบุคลากรที่เกี่ยวข้องและหน้าที่ความรับผิดชอบ

    ตำแหน่ง หน้าที่รับผิดชอบ
    ผู้ใช้บริการ ๐ แจ้งปัญหา หรือ ความต้องการ เกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่อพ่วง
    ๐ ขอคำปรึกษา คำแนะนำ เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่อพ่วง
    Service Desk ๐ รับแจ้งเหตุทางโทรศัพท์ , ระบบ OSTicket , E-mail , Counter Serviceจากผู้รับบริการ
    ๐ บันทึกเหตุการณ์และมอบหมาย ปัญหา ความต้องการในระบบ OSTicket และติดตามผลการดำเนินการ
    ๐ ทำการประเมิน Service request ที่เข้ามาในเบื้องต้นและให้ความช่วยเหลือแก้ไข เพื่อให้ผู้ใช้งานกลับมาใช้งานได้เร็วที่สุดด้วยความเสียหายที่ต่ำที่สุดภายใต้ข้อกำหนด SLA
    ๐ ตรวจสอบ ติดตามปัญหาที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข
    ๐ จัดทำสถิติและรายงานผลการดำเนินการ
    CC Service ๐ รับแจ้งเหตุทางระบบ OSTicket จากเจ้าหน้าที่ Service Desk
    ๐ ทำการแก้ไขปัญหา หรือ ตามความต้องการขอรับบริการของผู้รับบริการ
    ๐ ให้ข้อมูลการแก้ไขปัญหาเบื้องต้น และการใช้งานที่ถูกต้องแก่ผู้รับบริการ ในกรณีผู้รับบริการมีความเข้าใจคลาดเคลื่อน
    ๐ ประสานงานผู้เกี่ยวข้องที่ให้บริการภายในสำนักคอมพิวเตอร์ เพื่อดำเนินการแก้ไขกรณีที่เจ้าหน้าที่ซ่อมบำรุงคอมพิวเตอร์ตรวจสอบและไม่สามารถแก้ไข ได้
    ๐ บันทึกเหตุการณ์ ปัญหาที่เกิดขึ้น วิธีการแก้ไขปัญหา ในระบบ OSTicket พร้อมทำปิดใบงาน
    ๐ จัดทำรายงานสรุป ข้อเสนอแนะ ปัญหา เพื่อรายงานหัวหน้าฝ่ายบริการคอมพิวเตอร์
    หัวหน้าฝ่ายบริการคอมฯ ๐ จัดทำเอกสาร Service Level Agreement ในการให้บริการซ่อมบำรุงคอมพิวเตอร์
    ๐ ทบทวนและปรับปรุงเอกสาร Service Level Agreement กรณีมีการแก้ไขเพิ่มเติม
    ๐ ทบทวนและปรับปรุง Service Catalogue กรณีมีการแก้ไขเพิ่มเติม
    ๐ จัดเก็บเอกสาร Service Level Agreement
    ๐ ติดตามและตรวจสอบการให้บริการ
    ๐ ตรวจสอบรายงานและผลการดำเนินการ
    ผู้่อำนวยการสำนักคอมพิวเตอร์ ตรวจสอบ อนุมัติ และสังเกตตามเอกสาร Service Level Agreement

    เวลาทำการและการให้บริการ

    วันเวลาทำการของผู้ให้บริการ คือ วันทำการปกติของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.30 น.

    ขอบเขตการให้บริการ

  • 1. ผู้ให้บริการต้องกำหนดระดับการให้บริการโดยบริการซ่อมบำรุงคอมพิวเตอร์ (CC Service) ที่มีความสำคัญและบรรจุไว้ในบัญชีระดับการให้บริการ (Service Catalogue)
  • 2. ผู้ให้บริการต้องทำการทบทวนและปรับปรุงระดับการให้บริการในบัญชีตามสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลง
  • 3. ผู้ให้บริการต้องทำการเฝ้าระวังและติดตามการให้บริการซ่อมบำรุงคอมพิวเตอร์ (CC Service) อย่างสม่ำเสมอหากไม่เป็นไปตามระดับการให้บริการที่กำหนดไว้ให้หาสาเหตุและดำเนินการปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องต่อไป
  • 4. ผู้ให้บริการต้องบริการตามที่ Service Level Agreement ให้อยู่ในระดับตามที่ตกลงไว้
  • 5. ผู้ให้บริการกำหนดระดับการให้บริการโดยบริการซ่อมบำรุงคอมพิวเตอร์ (CC Service) สำหรับพื้นที่การศึกษาบางมดเท่านั้น
  • 6. ผู้ให้บริการกำหนดระดับการให้บริการโดยบริการซ่อมบำรุงคอมพิวเตอร์ (CC Service) สำหรับคำขอรับบริการที่แจ้งในระหว่างเวลา 08.30 – 15.30 น. เท่านั้น
  • ขอบเขตการรับบริการ

  • 1. ผู้รับบริการต้องแจ้งปัญหาหรือแจ้งคำขอรับบริการทุกครั้งที่มีความประสงค์ขอรับบริการ
  • 2. ผู้รับบริการต้องแจ้งปัญหาจะต้องแจ้งรายละเอียดของปัญหาให้ครบถ้วนในการขอรับบริการทุกครั้งที่เกิดปัญหา
  • 3. ผู้รับบริการต้องยอมรับข้อตกลงต่างๆ ในการรับบริการซ่อมบำรุงคอมพิวเตอร์ (CC Service)
  • 4. ผู้รับบริการทุกคนจะต้องปฏิบัติตามข้อตกลงในเอกสารข้อตกลงและเงื่อนไขการให้บริการ
  • เงื่อนไขการให้บริการ

  • 1. ผู้ให้บริการ ให้บริการเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงที่เป็นครุภัณฑ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีเท่านั้น และไม่รวมถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ในห้องบริการคอมพิวเตอร์สำหรับนักศึกษาของคณะและภาควิชา
  • 2. ผู้ให้บริการ ให้บริการตามความต้องการ การแก้ไขปัญหาเบื้องต้นเกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์พีซี เครื่องคอมพิวเตอร์พกพา (Notebook) เครื่องพิมพ์ (Printer) เครื่องสแกนเนอร์ (Scanner) และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์อื่น ๆ ที่สามารถแก้ไขปัญหาได้ โดยให้บริการแก่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อการบริหารเป็นหลัก
  • 3. การให้บริการนี้ไม่ได้รวมถึงการเป็นผู้สอนการใช้งานคอมพิวเตอร์ หรือโปรแกรมแก่ผู้รับบริการ
  • 4. ในกรณีเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานอธิการบดี เกิดปัญหาด้าน Hardware ผู้ให้บริการจะดำเนินการส่งซ่อม หรือจัดหา Hardware ใหม่ทดแทนของเดิมที่เสื่อมสภาพ ตลอดจนรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น
  • 5. ในกรณีเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงของหน่วยงานคณะ และสำนักอื่น ๆ เกิดปัญหาด้านฮาร์ดแวร์ (Hardware) ผู้ให้บริการจะดำเนินการติดตั้งฮาร์ดแวร์ (Hardware) ใหม่ทดแทนของเดิมที่เสื่อมสภาพหลังจากหน่วยงานคณะ และสำนักอื่น ๆ ดำเนินการจัดหาเรียบร้อยแล้ว ตลอดจนไม่รับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น
  • 6. ผู้ให้บริการไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงสำรองระหว่างรอซ่อมแซมแก้ไข
  • 7. ผู้รับบริการสามารถขอรับบริการด้วยตนเองผ่านช่องทางต่าง ๆ ดังนี้
    • ๐ โทรศัพท์หมายเลข 111 หรือ 024709444

    • ๐ ระบบ OSTicket

    • ๐ ccsupport@kmuttt.ac.th

    • ๐ Counter Service ชั้น 2 อาคารเรียนรวม 2 สำนักคอมพิวเตอร์

  • บริการที่จัดอยู่ในเงื่อนไขการให้บริการ

  • 1. การให้บริการติดตั้งเครื่องสแกนเนอร์ (Scanner) และเครื่องพิมพ์ (Printer)
  • 2. การให้บริการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาเครื่องสแกนเนอร์ (Scanner) และเครื่องพิมพ์ (Printer)
  • 3. การให้บริการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาฮาร์ดแวร์ (Hardware) เครื่องคอมพิวเตอร์ และเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Notebook)
  • 4. การให้บริการติดตั้งระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows ลิขสิทธิ์สำหรับบุคลากรมหาวิทยาลัย โดยมีรายละเอียด ดังนี้
    • ๐ Microsoft Windows 10

    • ๐ Microsoft Windows 7

    • ๐ Microsoft Windows 8

    • ๐ Microsoft Windows XP

  • 5. การให้บริการติดตั้งซอฟต์แวร์สำหรับใช้งานทั่วไป และซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์สำหรับบุคลากรมหาวิทยาลัย โดยมีรายละเอียดดังนี้
    • 1. ซอฟต์แวร์สำหรับใช้งานทั่วไป ประกอบด้วย
      • ๐ โปรแกรม Browser ได้แก่ Firefox 42.0, Opera 33.0, Thunderbird 38.3.0

      • ๐ โปรแกรม FTP ได้แก่ FileZilla 3.14.1, Winscp 5.7.6

      • ๐ โปรแกรม VPN Client

      • ๐ โปรแกรมทั่วไป ได้แก่ 13 ฟอนต์แห่งชาติ โดยสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน):SIPA, ฟอนต์ TH Sarabun New, ฟอนต์ TH Sarabun IT๙, TeamViewerQS

      • ๐ โปรแกรมบีบอัดข้อมูล ได้แก่ 7Zip 15.11 32bit, 7Zip 15.11 64bit, IZArc 4.1.9, WinRAR 5.21 32bit, WinRAR 5.21 64bit

      • ๐ โปรแกรมสำนักงาน (Open Office) ได้แก่ Apache Open Office เวอร์ชั่นภาษาไทย, Apache Open Office เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษ, Libre Office

      • ๐ โปรแกรมแต่งและแก้ไขรูปภาพและวีดีโอ ได้แก่ PhotoScape 3.7, Pixillion Image Converter 2.93, PhotoPad Photo Editing 2.76, PhotoStage Slideshow 3.31, Prism Video Converter 2.52

      • ๐ โปรแกรมแปลง-อ่านไฟล์ PDF ได้แก่ Adobe Acrobat Reader DC, doPDF 8.5.937, PDFCreator 2.2, DocSpear 1.9
    • 2. ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ ประกอบด้วย
      • ๐ Adobe Creative Cloud

      • ๐ EndNote, Microsoft Office

      • ๐ PASW Statistics

      • ๐ SPSS Statistics

      • ๐ Symantec Antivirus

  • 6. การให้บริการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาการใช้งานซอฟต์แวร์ (Software) สำหรับใช้งานทั่วไป และซอฟต์แวร์ (Software) ลิขสิทธิ์สำหรับบุคลากรมหาวิทยาลัย รายละเอียดซอฟต์แวร์ตามข้อ 7.4-7.5
  • 7. การให้บริการตรวจสอบไวรัสคอมพิวเตอร์ หรือ Scan Virus
  • 8. การให้บริการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาการใช้งานระบบเครือข่าย WIFI KMUTT Secure , KMUTT SecureN และ eduroam บนเครื่องคอมพิวเตอร์ กระดานอิเล็กทรอนิกส์ (Tablet) และสมาร์ทโฟน (SmartPhone)
  • 9. การให้บริการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาเบื้องต้นการใช้งานระบบเครือข่าย LAN บนเครื่องคอมพิวเตอร์
  • ระดับการให้บริการ (Service Level)

    รายการให้บริการ ระดับการให้บริการ

    การให้บริการติดตั้งเครื่องสแกนเนอร์ (Scanner) และเครื่องพิมพ์ (Printer)

    ขั้นตอนการให้บริการ

  • 1. ติดตั้งอุปกรณ์เครื่องสแกนเนอร์ หรือ เครื่องพิมพ์ ในกรณีเครื่องยังไม่ได้ติดตั้ง
  • 2. ทำการเชื่อมต่อเครื่องสแกนเนอร์ หรือ เครื่องพิมพ์ เข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยสาย USB หรือ สาย LAN ในกรณีที่ยังไม่ได้ทำการเชื่อมต่อ
  • 3. ติดตั้งไดรเวอร์อุปกรณ์เครื่องสแกนเนอร์ หรือ เครื่องพิมพ์ลงเครื่องคอมพิวเตอร์
  • 4. ทดสอบการสั่งพิมพ์ หรือ สแกน ตามฟังก์ชั่นของเครื่องที่มีเพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องพิมพ์ทำงานได้ตามปกติ
  • ระดับความสำเร็จ ตามมาตรฐานระยะเวลาการให้บริการของงานซ่อมบำรุงคอมพิวเตอร์ ฝ่ายบริการคอมพิวเตอร์ สำนักคอมพิวเตอร์
    ให้บริการภายใน 1 วันทำการ

    การให้บริการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาเครื่องสแกนเนอร์ (Scanner) และเครื่องพิมพ์ (Printer)

    ขั้นตอนการให้บริการ

  • 1. ตรวจสอบเครื่องสแกนเนอร์ หรือเครื่องพิมพ์
  • 2. ตรวจสอบไดรเวอร์ของอุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์ในกรณีเครื่องสแกนเนอร์ หรือเครื่องพิมพ์ มีสถานะการทำงานปกติ
  • 3. ทำการแก้ไขปัญหา เช่น ติดตั้งไดรเวอร์ใหม่ ตั้งค่าการทำงานใหม่
  • 4. ทดสอบการสั่งพิมพ์ หรือ สแกน ตามฟังก์ชั่นของเครื่องที่มีเพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องพิมพ์ทำงานได้ตามปกติ
  • ระดับความสำเร็จ
    ให้บริการภายใน
    1 วันทำการ

    การให้บริการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาฮาร์ดแวร์ (Hardware) เครื่องคอมพิวเตอร์ และเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Notebook)

    ขั้นตอนการให้บริการ

  • 1. ตรวจสอบเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อค้นหาสาเหตุของอาการเสีย คืออุปกรณ์ที่คาดว่าจะเป็นสาเหตุ ได้แก่ RAM , VGA Card สกปรก หรือเสื่อมสภาพ
  • 2. ในกรณีอุปกรณ์สกปรก ทำการทำความสะอาดอุปกรณ์นั้นและทดสอบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
  • 3. ในกรณีอุปกรณ์เสื่อมสภาพ และเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์สังกัด คณะ/สำนัก /ศูนย์ฯ ทำการแจ้งผู้รับบริการรับทราบถึงอุปกรณ์ที่เสีย เพื่อให้จัดหาอุปกรณ์ใหม่มาทดแทน
  • 4. ในกรณีอุปกรณ์เสื่อมสภาพ และเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานอธิการบดี ดำเนินการดังนี้
    • ๐ ในกรณีเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ในระยะเวลาการเช่าหรือการรับประกัน ทำการแจ้งบริษัทผู้ให้เช่าหรือผู้ขาย
    • ๐ ในกรณีเครื่องคอมพิวเตอร์สิ้นสุดระยะเวลาการเช่าหรือการรับประกัน ทำการเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่ทดแทนตัวที่เสีย
  • ระดับความสำเร็จ
    ให้บริการภายใน
    1 วันทำการ

    การให้บริการติดตั้งระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows ลิขสิทธิ์สำหรับบุคลากรมหาวิทยาลัย

    ขั้นตอนการให้บริการ

  • 1. ติดตั้งระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows
  • 2. ติดตั้ง Drivers เช่น Driver LAN, Wireless, VGA, Sound เป็นต้น
  • 3. ทำการทดสอบการทำงานของระบบปฏิบัติการ
  • ระดับความสำเร็จ
    ให้บริการภายใน
    1 วันทำการ

    การให้บริการติดตั้งซอฟต์แวร์สำหรับใช้งานทั่วไป และซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์สำหรับบุคลากรมหาวิทยาลัย

    ขั้นตอนการให้บริการ

  • 1. ติดตั้งซอฟต์แวร์

  • 2. ทำการทดสอบการทำงานของซอฟต์แวร์
  • ระดับความสำเร็จ
    ให้บริการภายใน
    1 วันทำการ

    การให้บริการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาการใช้งานซอฟต์แวร์ (Software) สำหรับใช้งานทั่วไป และซอฟต์แวร์ (Software) ลิขสิทธิ์สำหรับบุคลากรมหาวิทยาลัย

    ขั้นตอนการให้บริการ

  • 1. ตรวจสอบซอฟต์แวร์เพื่อค้นหาสาเหตุของปัญหา
  • 2. ทำการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา
  • 3. ทดสอบการทำงานของซอฟต์แวร์
  • ระดับความสำเร็จ
    ให้บริการภายใน
    1 วันทำการ

    การให้บริการตรวจสอบและ Scan Virus

    ขั้นตอนการให้บริการ

  • 1. ตรวจสอบโปรแกรมป้องกัน Virus ในเครื่องคอมพิวเตอร์ (Antivirus)
  • 2. ในกรณีเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่มีโปรแกรมป้องกันไวรัส จะทำการติดตั้งโปรแกรม
  • 3. ในกรณีเครื่องคอมพิวเตอร์มีโปรแกรมป้องกันไวรัสแล้ว ทำการ Scan Virus ในเครื่องคอมพิวเตอร์
  • 4. ในกรณีที่ตรวจพบ Virus ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำการ Remove Virus
  • 5. ทำการแจ้งผลการ Scan Virus ให้ผู้รับบริการทราบ
  • ระดับความสำเร็จ
    ให้บริการภายใน
    1 วันทำการ

    การให้บริการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาการใช้งานระบบเครือข่าย WIFI KMUTT Secure, KMUTT SecureN และ eduroam บนเครื่องคอมพิวเตอร์ กระดานอิเล็กทรอนิกส์ (Tablet) และสมาร์ทโฟน (SmartPhone)

    ขั้นตอนการให้บริการ

  • 1. ตรวจสอบ Internet Account ของผู้รับบริการ
  • 2. ตรวจสอบการตั้งค่า WIFI บนเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ของผู้รับบริการ
  • 3. ทำการแก้ไขการตั้งค่า WIFI บนเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ของผู้รับบริการ
  • 4. ทดสอบการทำงานของ WIFI บนเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ของผู้รับบริการ
  • ระดับความสำเร็จ
    ให้บริการภายใน
    1 วันทำการ

    การให้บริการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาเบื้องต้นการใช้งานระบบเครือข่าย LAN บนเครื่องคอมพิวเตอร์

    ขั้นตอนการให้บริการ

  • 1. ตรวจสอบสาย LAN ที่เชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์และ Outlet ว่าเชื่อมต่อดีและได้รับสัญญาณหรือไม่
  • 2. ตรวจสอบการเชื่อมต่อสัญญาณเครือข่ายของเครื่องคอมพิวเตอร์
  • 3. ตรวจสอบความถูกต้องของหมายเลข IP Address ที่เครื่องได้รับ
  • 4. ในกรณีสาย LAN ไม่มีสัญญาณ จะประสานงานกับทีมงาน Network เพื่อดำเนินการตรวจสอบและแก้ไขต่อไป
  • ระดับความสำเร็จ
    ให้บริการภายใน
    1 วันทำการ

    การจัดลำดับการให้บริการ

    เพื่อให้การบริการสามารถบริหารจัดการเป็นมาตรฐาน ระหว่างผู้ขอใช้บริการและผู้ให้บริการจึงกำหนดมาตรฐาน การจัดลำดับการให้บริการ โดยมีการกำหนดช่วงระยะเวลาเป็นมาตรฐานระดับต่างๆ ตามนิยามดังนี้

    ระยะเวลาเปิด Ticket เจ้าหน้าที่ Service Desk จะสร้าง Ticket หลังจากรับแจ้งปัญหาภายใน 10 นาที
    Response Time เป็นระยะเวลาเริ่มนับ ตั้งแต่ เปิด Ticket จนกระทั่งผู้รับผิดชอบตอบรับงาน และติดต่อผู้แจ้ง
    Resolution Time เป็นระยะเวลานับตั้งแต่ ผู้ใช้งานติดต่อเพื่อขอบริการ จนถึงส่งมอบงานที่สำเร็จและแจ้งผลการปฎิบัติแก่ผู้ขอรับบริการ

    Priority Level

    Critical        ระบบที่เกี่ยวข้องกับการประชุม ผู้บริหารมหาวิทยาลัย และการประชุมอื่น ๆ
    High
    • เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ ไม่สามารถเปิดใช้งาน (รวม Window ไม่สามารถใช้งาน)
    • ระบบทางด้านบัญชีและการเงิน
    • ระบบการลงทะเบียนเรียน
    Medium
    • ระบบสารสนเทศสำหรับการบริหาร และบริหารการศึกษา
    • การตรวจสอบอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่อพ่วง
    • การตรวจสอบปัญหาเบื้องต้น LAN, Wifi
    • การแก้ปัญหาซอฟต์แวร์ อื่น ๆ
    Low
    • การติดตั้งซอฟต์แวร์ใหม่
    • การติดตั้งอุปกรณ์ใหม่ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ Scanner Printer

    Priority Level

    Priority Critical High Medium Low
    Response Time 10 min 10 min 20 min 30 min
    Resolution Time 30 min 3 hrs 6 hrs 8 hrs

    สิ่งที่นอกเหนือจากเงื่อนไขมาตรฐานการบริการ

    กรณีเกิดปัญหาจากปัจจัยภายนอก เช่น ระบบ Internet ขัดข้อง หรือ ไฟฟ้าดับ ไม่สามารถให้บริการได้ตามมาตรฐานระยะเวลาการให้บริการ


    กลับสู่ด้านบน